เจ็บเข่า ปวดเข่า ออกกำลังกาย

เมื่อเกิดอาการเจ็บข้อเข่าสามารถออกกำลังกายได้แต่ควรออกกำลังกายให้ถูกประเภทโดยเน้นการออกกำลังกายที่จะช่วยบริหารเข่าหรือเพิ่มกล้ามเนื้อต้นขาและสะโพก ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรออกกำลังกายในท่าที่ลงน้ำหนักกับข้อเข่ามากเกินไปทั้งนี้การออกกำลังกายจะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยลดอาการปวดเข่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบหัวเข่า สามารถลดอาการเจ็บปวด เพิ่มความยืดหยุ่น เพิ่มการเคลื่อนไหวข้อเข่า ช่วยยืดกล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ เอ็นยืดข้อต่อ และเยื่อหุ้มรอบข้อเข่า ทำให้ข้อเข่าสามารถเคลื่อนไหวได้คล่อง 

โดยการออกกำลังกายทั่วไปที่สามารถทำได้คือการว่ายน้ำเดินหรือเดินในน้ำก็ได้แต่ถ้าอยู่ที่บ้าน ต้องการออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อต้นขาเพื่อลดอาการเจ็บเข่าสามารถทำได้ดังนี้

1.ท่านั่งเหยียดขา (Knee Full Extension Exercise)

ท่านั่งเหยียดขา (Knee Full Extension Exercise)

ท่านี้เป็นการบริหารกล้ามเนื้อต้นขา สามารถทำได้โดยนั่งลงบนเก้าอี้ เก้าอี้จะต้องมีความสูงเท่ากับขาส่วนล่าง เมื่อนั่งจะทำให้ต้นขาขนานกับพื้น 

2. ท่าปั่นจักรยานอากาศ (Leg Cycle Exercise)

ท่าปั่นจักรยานอากาศ (Leg Cycle Exercise)

ท่านี้จะช่วยบริหารเข่า กล้ามเนื้อต้นขา กล้ามเนื้อหน้าท้อง 

ข้อแนะนำ 

หากทำท่าปั่นจักรยานอากาศไม่ไหว สามารถลดการออกแรงที่เข่า ด้วยท่าดังต่อไปนี้ 

3.ท่าสควอช (Squat) 

ท่าสควอช (Squat)

ท่านี้เพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของช่วงล่างของร่างกาย เช่น ช่วงเอว สะโพก ต้นขา นอกจากนี้แล้วท่าสควอซ (Squat) ยังสามารถช่วยให้เราทำกิจวัตประจำวันได้ดีขึ้นด้วย เช่น เวลานั่งและลุก หรือ นั่งหยิบของ ดังนั้นท่านี้จะช่วยลดการบาดเจ็บเวลาผู้ป่วยเจ็บที่หัวเข่าได้

ข้อแนะนำ 

  1. ขณะออกกำลังกายท่าสควอซ (Squat) หลังต้องตรง อยู่ในแนวปกติ ไม่ก้มตัว ย่อตัวลงโดยที่ให้ลำตัวขึ้นและลงในแนวดิ่ง ทำขึ้น-ลงช้าๆ
  2. กรณีรู้สึกเจ็บอาจจะพิงกำแพง เพื่อลดการบาดเจ็บ

4.ท่านอนราบยกขายืดตรง (Straight leg raises)

ท่านอนราบยกขายืดตรง (Straight leg raises)

เป็นท่าบริหารเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับต้นขาด้านหน้าเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดเข่าเรื้อรัง

ข้อแนะนำการปฎิบัติตัวในชีวิตประจำวันเพื่อป้องกันอาการปวดข้อเข่า

  1. ไม่นั่งพับเพียบ ยองๆขัดสมาธิ หรือคุกเข่าเป็นเวลานานๆ ควรนั่งบนเก้าอี้ที่สูงระดับเข่า ซึ่งเมื่อนั่งห้อยขาแล้วฝ่าเท้าจะวางติดกับพื้นพอดี
  2. อย่าปล่อยให้น้ำหนักเยอะจนเกินไป ไม่อย่างงั้นข้อเข่าจะต้องทำงานโดยรับน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นควรลดน้ำหนักในคนที่อ้วนหรือมีภาวะน้ำหนักตัวเกิน
  3. ถ้ามีอาการปวดเข่า ให้พักเข่าไว้อย่าเดินหรือยืนมาก หรือถ้าจำเป็นให้ใช้ผ้ายืดพันรอบข้อเข่าไว้ให้กระชับจะช่วยลดการเสียดสีของข้อเข่า
  4. สวมใส่รองเท้าส้นเตี้ยที่กระชับและพอดีกับเท้า หลีกเลี่ยงการเดินบนพื้นผิวขรุขระ

กรณีเกิดอาการเจ็บข้อเข่าปวดเข่าขณะออกกำลังกายควรประคบร้อนหรือประคบเย็น

หากเจ็บข้อเข่า ปวดเข่า ให้พิจารณาดูก่อนว่าเกิดจากอะไร หากเกิดจากอุบัติเหตุส่วนใหญ่ก็จะต้องประคบเย็น หากเป็นอาการที่เป็นบ่อยๆ เกิดอย่างเรื้อรัง ก็ควรประคบร้อนเพื่อบรรเทาอาการ แต่ถ้ามีอาการปวดเข่าที่มากเกินไป ประคบร้อนเย็นแล้วไม่ดีขึ้น ทานยาแก้ปวดไม่หาย มีรอยฟกช้ำ บวมร้อน มีอาการปวดเรื้อรัง ควรมาพบแพทย์เพื่อรักษาที่ต้นเหตุของอาการต่อไป

การออกกำลังกายในกรณีเจ็บเข่า ให้เน้นที่การบริหารเข่าและไม่รุนแรงจนเกินไป ถ้าไม่ได้ออกกำลังกายเลยจะไม่มีการเคลื่อนไหว ส่งผลให้ทั้งเลือดที่ไปเลี้ยงตามข้อต่อและการแลกเปลี่ยนของเสียน้อยลง อาการบาดเจ็บอาจจะหายได้ช้าลง ดังนั้นคนที่บาดเจ็บ ควรจะมีการออกกำลังกายเบาๆเพื่อเสริมสร้างและฟื้นฟูบริเวณข้อต่อ โดยผู้ป่วยที่เจ็บกล้ามเนื้อจะใช้ระยะเวลาฟื้นตัวได้เร็วกว่าคนที่เจ็บบริเวณเอ็นกล้ามเนื้อ รวมถึงอายุและสมรรถภาพร่างกายของแต่ละคนก็จะมีผลในการฟื้นตัวแตกต่างกันไปด้วย อาการปวดข้อ เจ็บข้อเข่า สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย อาจจะเกิดจากโรค การเสื่อมตามวัย หรืออาการบาดเจ็บที่เข่า ดังนั้นเมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นควรสังเกตตัวเอง และรีบไปพบแพทย์ เพราะหากเกิดจากโรค หรือเป็นอาการเรื้อรังที่มีผลเสียรุนแรง จะสามารถรักษาได้ทัน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
https://www.samitivejchinatown.com/th/health-article/knee-pain
https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/866