✓ Checklist Office Syndrome
คุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่?
1.นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อวัน
2.ระหว่างทำงาน จะรู้สึกปวดเมื่อยบริเวณต้นคอ บ่า ไหล่ สะบัก และหลัง
3.มีก้อนกล้ามเนื้อเกิดขึ้น
4.เมื่อกดไปจุดที่เจ็บ จะมีอาการร้าวไปตามกล้ามเนื้อ
5.มีการตึงของกล้ามเนื้อ เมื่อหันหรือยกแขนจะทำได้ลำบาก
6.เมื่อเกิดอาการปวดต้องกินยาแก้ปวด หรือไปนวดเพื่อให้หายปวด
รู้หรือไม่อาการออฟฟิศซินโดรมไม่ได้เป็นแค่ในกลุ่มคนทำงานประจำ แต่สามารถเป็นได้ทั้งนักเรียน นักศึกษา นักกีฬา หรืออาชีพอื่น ๆ ที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิม ๆ ก็สามารถทำให้เป็นโรคออฟฟิศซินโดรมได้ มาทำความรู้จักกับ ‘โรคออฟฟิศซินโดรม’ ว่าเกิดจากอะไร เป็นแล้วมีอาการผิดปกติอย่างไร และสามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีใดบ้าง ตามไปดูเรื่องราวของโรคสุดฮอตฮิตนี้กันเลย
ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) จัดอยู่ในกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) ซึ่งมักเกิดจากการที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำไปมา เป็นระยะเวลานานและต่อเนื่อง โดยผลของมันจะทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบ ตลอดจนปวดเมื่อยตามอวัยวะส่วนอื่น ๆ ไล่ลงมาตั้งแต่คอ หลัง บ่า ไหล่ แขน หรือแม้กระทั่งบริเวณข้อมือก็ไม่เว้น ซึ่งหากผู้ที่พบว่ามีอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม แต่ไม่ทำการรักษาตัวในทันทีที่พบ อาการอาจทรุดหนักลงและลุกลามจนผู้ป่วยมีอาการปวดชนิดเรื้อรังก็เป็นได้
สาเหตุของการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม
โดยส่วนมากอาการปวดกล้ามเนื้อจากโรคออฟฟิศซินโดรม มักพบได้บ่อยในคนทำงานออฟฟิศเป็นหลัก นั่นเพราะพฤติกรรมการทำงานที่ต้องนั่นจดจ่ออยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานจนลืมตัว โดยแทบจะไม่มีการขยับตัวปรับเปลี่ยนอิริยาบถใด ๆ หรือลุกขึ้นเดินไปไหนมาไหนเลย ซึ่งนี่เป็นผลทำให้กล้ามเนื้อมัดต่าง ๆ เกิดอาการยึดเกร็งและอักเสบในเวลาต่อมา
อาการแบบไหน เสี่ยง! “ออฟฟิศซินโดรม”
- ปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง มักมีอาการปวดแบบว้างๆ ๆไม่สามารถชี้จุดหรือระบุตำแหน่งที่ปวดได้อย่างชัดเจน เช่น คอ บ่า ไหล่ สะบัก
- ปวดศีรษะเรื้อรัง หรือในบางครั้งมีอาการปวดหัวไมเกรนร่วมด้วย ซึ่งมีสาเหตุมาจากความเครียดหรือการที่ใช้สายตาเป็นระยะเวลานาน
- ปวดหลังเรื้อรัง เป็นอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคออฟฟิศซินโดรม เนื่องจากการนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์หลายชั่วโมง นั่งไม่ถูกท่า นั่งหลังค้อม อาจทำให้กล้ามเนื้อต้นคอ เมื่อย เกร็งอยู่ตลอด รวมถึงงานที่ต้องยืนนานๆ โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่ใส่ส้นสูง
- ปวดตึงที่ขา หรือเหน็บชา อาการชาเกิดจากการนั่งนานๆ ทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับและส่งผลให้เลือดไหลเวียนผิดปกติ
- ปวดตา ตาพร่า เนื่องจากต้องมีการมองหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ หรือใช้สายตาอย่างหนักเป็นเวลานาน
- มือชา นิ้วล็อค ปวดข้อมือ เพราะการใช้คอมพิวเตอร์จับเมาส์ในท่าเดิมๆ นาน ทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาทและเส้นเอ็นจนอักเสบ เกิดพังผืดทำให้ปวดปลายประสาท นิ้วหรือข้อมือล็อคได้
อาการแบบไหน เสี่ยง! “ออฟฟิศซินโดรม”
- ปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง มักมีอาการปวดแบบว้างๆ ๆไม่สามารถชี้จุดหรือระบุตำแหน่งที่ปวดได้อย่างชัดเจน เช่น คอ บ่า ไหล่ สะบัก
- ปวดศีรษะเรื้อรัง หรือในบางครั้งมีอาการปวดหัวไมเกรนร่วมด้วย ซึ่งมีสาเหตุมาจากความเครียดหรือการที่ใช้สายตาเป็นระยะเวลานาน
- ปวดหลังเรื้อรัง เป็นอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคออฟฟิศซินโดรม เนื่องจากการนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์หลายชั่วโมง นั่งไม่ถูกท่า นั่งหลังค้อม อาจทำให้กล้ามเนื้อต้นคอ เมื่อย เกร็งอยู่ตลอด รวมถึงงานที่ต้องยืนนานๆ โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่ใส่ส้นสูง
- ปวดตึงที่ขา หรือเหน็บชา อาการชาเกิดจากการนั่งนานๆ ทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับและส่งผลให้เลือดไหลเวียนผิดปกติ
- ปวดตา ตาพร่า เนื่องจากต้องมีการมองหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ หรือใช้สายตาอย่างหนักเป็นเวลานาน
- มือชา นิ้วล็อค ปวดข้อมือ เพราะการใช้คอมพิวเตอร์จับเมาส์ในท่าเดิมๆ นาน ทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาทและเส้นเอ็นจนอักเสบ เกิดพังผืดทำให้ปวดปลายประสาท นิ้วหรือข้อมือล็อคได้
การป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรม
- ออกกำลังกายด้วยท่าที่เหมาะสมกับอาการ เช่น การยืดกล้ามเนื้อให้เกิดความยืดหยุ่น การออกกำลังเพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โดยต้องอาศัยความใส่ใจและความสม่ำเสมอ
- ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น ปรับระดับความสูงของโต๊ะและเก้าอี้ ให้สามารถนั่งทำงานในท่าที่สบาย ปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานกล้ามเนื้อให้เหมาะสม เช่น ในระหว่างทำงานควรมีการยืดเหยียดหรือเปลี่ยนอิริยาบถเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้ออย่างน้อยทุก ๆ 1 ชั่วโมง
แนวทางการรักษาออฟฟิศซินโดรม สามารถเริ่มได้ที่ตัวเราเอง ด้วยการปรับพฤติกรรมตัวเองเสียใหม่ ลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม พยายามพักผ่อน ยืดเหยียดบริหารกล้ามเนื้อบ้าง และจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการทำงาน เสาะหาวิธีลดความเครียดหรือลดการทำงานหนัก ซึ่งจะเป็นแนวทางการป้องกันที่ยั่งยืนที่สุด